วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อวัสดุกราฟิก สีไม้

การออกแบบกราฟิก
ความหมาย
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตา หู ผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้

แนวคิด...การออกแบบ
เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและทัศนการสื่อสาร(visual commuication)
ความสำคัญ
การออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้นอกจากการสร้างงานด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการออกแบบจึงเกิดขึ้นพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และตั้งแต่เกิดจนตาย

เป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อการประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติของนักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้ากระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดี

กราฟิก ใช้กับงานอะไรบ้าง
หนังสือ
ป้ายโฆษณา
เว็บไซต์
แผ่นพับ
ภาพยนตร์
โทรทัศน์
บรรจุภัณฑ์
งานตกแต่ง
นิตยสาร
ผลิตภัณฑ์
วารสาร
นิทรรศการ
ใบปลิว

องค์ประกอบของกราฟิก
• ตัวอักษร(typographic)
• สัญลักษณ์(symbol)
• ภาพประกอบ(Illustrator)
• ภาพถ่าย(photography)

ความแตกต่างการออกแบบ
เป็นการใช้กระบวนการคิดแบบจินตนาการ อิสระ และสร้างสรรค์การวางแผน เป็นการใช้ความคิดเป็นขั้นตอน ที่จะนำไปสู่รูปแบบของจินตนาการ

กระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ 1,2,และ 3

องค์ประกอบ ทัศนศิลป์
เส้น
สี
จุด
รูปร่าง
รูปทรง
พื้นผิว

สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงที่สะท้อน

การมิติใช้ในการออกแบบ
• มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
• มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
• มิติ..สีมืด/สีสว่าง

ทฤษฎีสี (Color Theory)

1.โทนเย็น
- เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่
- น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
- ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
- เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่ น้ำเงิน ดำ

2. โทนร้อน
- เหลือง ส้ม แดง
- ส้ม แดง น้ำตาล
- แดง น้ำตาล ดำ
- เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ

3.รวมระหว่างโทนร้อน และโทนเย็น

- แดง ม่วง น้ำเงิน

- ส้ม เหลือง เขียวอ่อน

- ฟ้า ขาว ชมพู

อ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์

วรรณะสี (Tone) หลังจากทราบเรื่องวงจรของสีแล้วต่อไปจะมาทำความเข้าใจกับการใช้สีในวงจรเดียวกันเริ่มต้นที่วรรณสี แบ่งเป็นสองวรรณะ ได้แก่ วรรณสีร้อนกับวรรณสีเย็น โดยสามารถใช้วรรณะสีในการออกแบบให้ได้ความรู้สึกร้อนและเย็นได้ดังนี้
วรรณะสีเย็น (Cold Tone)วรรณสีเย็นมีอยู่ 7 ชนิด ได้แก่สีเหลือง เหลืองเขียว เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน น้ำเงินม่วง ม่วง สีกลุ่มนี้เมื่อใช้ในงานจะได้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย เป็นต้น
วรรณะสีร้อน (Warm Tone)วรรณสีร้อนมีอยู่ 7 สี ได้แก่ม่วง ม่วงแดง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มเหลือง เหลือง สีกลุ่มนี้เมื่อใช้ในงานจะรู้สึกอบอุ่น ร้อนแรง สนุกสนาน เป็นต้น
Color : สีที่เป็นทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็นสีเหลืองและม่วงจะอยู่ได้ทั้งสองวรรณะขึ้นอยู่กับสีแวดล้อม เช่น หากนำสีเหลืองไปไว้กับสีแดงและส้มก็กลายเป็นสีโทนร้อน แต่หากนำมาไว้กับสีเขียวก็จะเป็นสีโทนเย็นทันที

อ.มรกต อุ่นเสรี



เส้น
เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกันหน้าที่สำคัญของเส้น คือ การแสดงทิศทางลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรง

กลุ่มเส้นตรง
เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่า
เส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
เส้นตรงเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่

กลุ่มเส้นไม่ตรง
เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน
เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง
เส้นซิกแซก ให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้น

พื้นผิว
พื้นผิว เป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาวการ

ใช้พื้นผิว กับการออกแบบ
1. พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง
2. พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ
3. พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ
4. พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว

จุด
เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญ คือ การแสดงตำแหน่งการวางจุดตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปเรียงไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้นแต่ ถ้าวางตำแหน่งไว้ใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรงรูปร่าง

รูปร่าง
เป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมด้วยเส้นเส้นเดียวที่ลากปลายด้านใดด้านหนึ่งมาบรรจบกันหรือบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้น ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น”(ground)รูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติคือความกว้างกับความยาว รูปร่างที่มีขนาดใหญ่สามารถรองรับองค์ประกอบอื่นได้รูปทรงรูปทรงมีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่ ความกว้าง ความยาวและความหนาหรือความลึก

การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆมาเรียบเรียงหรือจัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรม

หลักการออกแบบ
การออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ หน้าที่(function) ของชิ้นงาน และความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงานความสมดุล หมายถึง ความเท่ากัน เสมอกัน เป็นการออกแบบให้วัตถุนั้นๆสามารถทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้างเท่ากัน(Symmetrical/Formal Balance)
2. ความสมดุลทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical/Informal or Occult Balance)

ความกลมกลืน หมายถึง การประสานกัน หรือเป็นการรวมหน่วยต่างๆ ของส่วนประกอบของการออกแบบให้ดูแลเหมาะสมกลมกลืนเป็นหน่วยเดียวกัน มีหลักดังต่อไปนี้
1. ความกลมกลืนที่ทำให้เส้นไปในทางเดียวกัน
2. ความกลมกลืนกันคล้ายคลึงกัน หรือเท่ากัน
3. ความกลมกลืนของรูปร่างและรูปทรง
4. ความกลมกลืนของพื้นผิว
5. ความกลมกลืนของสี
6. ความกลมกลืนในด้านความคิด

ความแตกต่าง หรือ การตัดกัน หมายถึง การออกแบบที่ไม่ให้เกิดการซ้ำซาก โดยจัดส่วนประกอบของการออกแบบ เช่น มีรูปร่าง พื้นผิว สี แตกต่างกันออกไป มีหลายวิธีดังนี้
1. ความแตกต่างในเรื่องเส้น
2. ความแตกต่างด้วยลักษณะพื้นผิว
3. ความแตกต่างในรูปทรงและลักษณะ

การเน้นให้เกิดจุดเด่น หมายถึง การเน้นทำให้เด่นเฉพาะบางแห่งที่ต้องการให้ชวนดูแปลกตา หรือเป็นจุดสนใจและทำให้เกิดความน่าสนใจหลักการเน้น
1.จะเน้นอะไร
2. จะเน้นอย่างไร
3. จะเน้นมากน้อยแค่ไหน
4. จะเน้นที่ตรงไหน

1 ความคิดเห็น:

Scott McLean กล่าวว่า...

Hi, Sabai dee mai? Sa bai dee. I'm Scott. Nice to see your blog. You can contact me on my fast food blog. I just had post about fast food in Thailand. You can leave me message on tag board or send me email. Have a nice week!

Scott