วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

สวัสดีคะทุกคน วันนี้เรียนกราฟิก





สวัสดีคะ ชื่อกมลภัทร โพธิภิรมย์ ชื่อเล่นกิ๊ฟท์ เรียนอยู่ปี 4 โปรแกรมภาษาอังกฤษ ดีใจมากเลยที่ทำบล็อกของตัวเองได้แล้ว ยอมรับเลยคะว่าส่วนตัวไม่ค่อยเก่งเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสักเท่าไหร่ พอได้ยินชื่อวิชานี้ คือ นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้แล้วหนาว แต่พอได้เรียนครั้งแรกอาจารย์สอนเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนการสอนโดยใช้มือ(วาดรูป+ระบายสีไม้)ชอบเรียนมากเลย แล้วคาบต่อมาอาจารย์สอน Powerpoint และ Photoshop แล้วให้สร้าง Blog นี้ รู้สึกว่าได้ความรู้มากขึ้นทุกนาทีเลยค่ะ แถมสนุกอีกด้วย

การสร้างสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น

ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน

บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ

ปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี


ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า


สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว


สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียน


โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น


ความสำคัญของสื่อการสอน


ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการสอนก็คือ แนวทางการตัดสินใจจัดดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสอนโดยทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ หรือทักษะและมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่า ผู้เรียนมีความต้องการอย่างไร ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทั้งมวลที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้น ก็คือ การเรียนการสอนนั่นเอง


เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้

2.สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3.ป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5.ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกันประเภทของสื่อการสอน



โรเบิร์ต อี.ดี.ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอนโดยมีทั้งหมด 10 ขั้นดังแผนภาพต่อไปนี้







1.วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2.วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3.โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น


ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้


ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)


1.ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
- ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
- ภาพเขียน (Drawing)ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
- ภาพตัด (Cut-out Pictures)
- สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
- ภาพถ่าย (Photographs)
- ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
- สไลด์ (Slides)
ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
- ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
- ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
- ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
- ภาพยนตร์ (Video Tape)


2.ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
- แผนภูมิ (Charts)
- กราฟ (Graphs)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Posters)
- การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
- รูปสเก็ช (Sketches)
- แผนที่ (Maps)
- ลูกโลก (Globe)


3.ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
- กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
- กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
- กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
- กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
- กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)


4.ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีดังนี้
- หุ่นจำลอง (Models)
- ของตัวอย่าง (Specimens)
- ของจริง (Objects)
- ของล้อแบบ (Mock-Ups)
- นิทรรศการ (Exhibits)
- ไดออรามา (Diorama)
- กระบะทราย (Sand Tables)


5.ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
- แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
- เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
- รายการวิทยุ (Radio Program)


6.ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
- การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
- การสาธิต (Demonstrations)
- การทดลอง (Experiments)
- การแสดงแบบละคร (Drama)
- การแสดงบทบาท (Role Playing)
- การแสดงหุ่น (Pupetry)
- ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
- เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
- เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
- เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
- เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
- เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
- เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
- จอฉายภาพ (Screen)
- เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
- เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
- อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา
- โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
http://www.la.ubu.ac.th/Thai/Research/Data/Detail/COMPARE/unit2_2.html

ไม่มีความคิดเห็น: